September 28, 2017
Motortrivia Team (10167 articles)

ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์ มีไว้ทำไม?


Press Release

 

●   การที่รถคันหนึ่งออกมาวิ่งบนถนนได้ คนขับต้องมีความรับผิดชอบต่อทั้งตัวเองและเพื่อนร่วมทางไม่น้อยเลย เพราะหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ความเสียหายอาจหมายถึงทั้งชีวิตและทรัพย์สินทุกฝ่าย กฎหมายจึงกำหยดให้รถยนต์ทุกคันต้องทำประกันรถยนต์ ซึ่งมีทั้ง ประกันรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พรบ. รถยนต์ และ ประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นประกันรถยนต์ที่บริษัทประกันต่างๆ ออกกรมธรรม์มาขาย ในวันนี้เรามาพูดถึงประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พรบ. รถยนต์ กันก่อน

●   ทำไมจึงเรียก พรบ. รถยนต์ว่าประกันรถยนต์ภาคบังคับ?

●   หากตอบแบบง่ายๆ ก็เพราะเป็นประกันรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้ทำนั่นเอง ตาม พรบ.การทำประกันภัยปี 2535 กำหนดให้รถทุกชนิดต้องทำ พรบ. รถยนต์จึงจะสามารถต่อทะเบียนได้ นั่นแปลว่า หากรถไม่มี พรบ. ก็จะเป็นรถที่ไม่มีทะเบียน = ผิดกฎหมายเมื่อนำไปวิ่งบนท้องถนน

●   นอกจากนี้ยังมีบทลงโทษที่ชัดเจนดังนี้:

พรบ. รถยนต์ทำที่ไหน อย่างไร

●   ปกติแล้วการทำ พรบ. รถยนต์จะทำควบคู่ไปกับการต่อทะเบียนรถยนต์ ซึ่งทำได้ที่กรมการขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ หรือจะฝากตัวแทนที่รับทำ พรบ. รถยนต์ก็มีให้เลือกมากมาย โดยใช้หลักฐานเพียงสำเนาทะเบียนรถและบัตรประชาชนของเจ้าของรถเพียง 1 ใบ และในยุคที่ง่ายเพียงคลิ๊กเดียวแบบนี้ ก็สามารถทำ พรบ. รถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของกรมการขนส่ง www.dlte-serv.in.th.

●   โดยรถแต่ละประเภทก็จะมีค่าใช้จ่ายรวมภาษีในการทำ พรบ. รถยนต์กำหนดไว้ตายตัว ดังนี้:

พรบ. รถยนต์คุ้มครองอะไร

●   กฎหมายจะบังคับให้ทำในสิ่งที่มีเหตุผลเสมอ พรบ. รถยนต์ก็เช่นกัน เป็นการทำเพื่อให้ความคุ้มครองต่อชีวิตและทรัพย์สิน ณ ที่เกิดเหตุ คือค่าใช้จ่ายในการพาไปโรงพยาบาลและค่ารักษาเบื้องต้นนั่นเอง ซึ่ง พรบ. รถยนต์มีเกณฑ์ความคุ้มครองแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

1.  ค่าเสียหายเบื้องต้น
●   คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายจะได้รับ 30,000 บาท ภายใน 7 วัน… บาดเจ็บคนละ 35,000 บาทในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ (1) บาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะตามมา จะได้รับคนละไม่เกิน 65,000 บาท (2) เสียชีวิต จะได้รับเงินค่าทำศพคนละ 35,000 บาท (3) ถ้ารักษาพยาบาลแล้วเสียชีวิต จะได้รับค่าชดเชยคนละไม่เกิน 65,000 บาท

2.  ค่าสินไหมทดแทน
●   จ่ายให้เฉพาะฝ่ายที่ถูกเท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนทางกฎหมาย (1) ค่ารักษาพยาบาลเบิกตามจริงหรือไม่เกิน 80,000 บาท (2) เงินชดเชยในกรณีสูญเสียอวัยวะตามหลักเกณฑ์ 200,000 – 300,000 บาท (3) เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาท (4) ค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน วันละ 200 บาทไม่เกิน 20 วันรวม 4,000 บาท (5) รวมค่าสินไหมทดแทนทั้งหมดคนละไม่เกิน 304,000 บาท

●   ในกรณีที่เกิดเหตุกับรถยนต์ 2 คันขึ้นไป ผู้ได้รับบาดเจ็บจะได้รับการดูแลตามประกันของรถแต่ละคันอยู่แล้ว แต่ถ้ามีบุคคลที่ 3 เข้ามาเกี่ยวข้องให้แต่ละบริษัทร่วมกันจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ

●   การทำ พรบ. รถยนต์หรือประกันรถยนต์ภาคบังคับมีประโยชน์จริงๆ และการขับขี่จะได้รับความคุ้มครองมากขึ้นหากทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจร่วมไปด้วย ซึ่งก็มีหลายแห่งให้เลือก

●   สนใจข้อมูลเกี่ยวกับประกันรถยนต์ออนไลน์เพิ่มเติม เชิญได้ที่ www.frank.co.th   ●