January 28, 2019
Motortrivia Team (10167 articles)

Madza, เครื่องดีเซล, สุขภาพ และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฝุ่น PM 2.5

Press Release

 

●   ประเทศไทยยังคงได้รับผลจากฝุ่นละอองที่ปกคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดรอบๆ ส่งผลให้หลายๆ คนเกิดความกังวลต่อระบบทางเดินหายใจและการใช้ชีวิตประจำวัน ในขณะที่หลายฝ่ายพยายามระดมทุกวิถีทางเพื่อลดปัญหาที่เกิดขึ้น… เพื่อความชัดเจนกับสิ่งที่เกิดขึ้น มาสด้า ประเทศไทย ส่งบทความเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของแหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองในบรรยากาศ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร และมีวิธีการที่จะดูแลสุขภาพอย่างไร เนื่องจากหลายต่างเห็นพ้องต้องกันว่า สาเหตุหลักเกิดจากยานพาหนะ โดยเฉพาะรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล

ฝุ่นละอองที่เกิดจากกิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น
–   ฝุ่นจากการคมนาคม เช่น ดิน ทราย ที่ฟุ้งกระจาย และเขม่าจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น
–   ฝุ่นจากการก่อสร้าง เช่น ก่อสร้างอาคาร ถนน และการรื้อถอน เป็นต้น
–   ฝุ่นจากการประกอบการอุตสาหกรรม เช่น การทาปูนซีเมนต์การโม่บดหรือย่อยหิน และอื่นเป็นต้น

ความหมายของฝุ่นละอองในบรรยากาศ
●   PM10 ตามนิยามของ U.S. EPA หมายถึง ฝุ่นหยาบ (Course Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.5 – 10 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดมาจากการจราจรบนท้องถนนที่ไม่ได้ลาดยาง จากการขนส่งวัสดุ หรือฝุ่นจากกิจกรรมบด ย่อย หิน
●   PM2.5 ตามนิยามของ U.S. EPA หมายถึง ฝุ่นละเอียด (Fine Particle) เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีแหล่งกำเนิดจากควันของรถยนต์ โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม ควันที่เกิดจากหุงต้มอาหารโดยการใช้ฟืน นอกจากนี้ ก๊าซ SO2 NOX และสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย (Volatile Organic Compound – VOC) ยังสามารถจะทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดเป็นฝุ่นละเอียดได้

●   ค่ามาตรฐานของฝุ่นละอองในบรรยากาศโดยทั่วไปของประเทศไทย วัดค่าเฉลี่ยของฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) สะสมในเวลา 24 ชั่วโมง จะต้องไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และในระยะเวลา 1 ปี จะต้องไม่เกิน 0.025 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

เครื่องยนต์เบนซินและดีเซล

●   ข้อแนะนำสำหรับผู้ใช้รถยนต์ ทั้งชนิดเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล นอกจากจะต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อลดมลพิษทางอากาศแล้ว สิ่งที่สำคัญคือการดัดแปลงเครื่องยนต์ให้ทำงานผิดไปจากเดิม อย่างแรกที่นิยมทำกันด้วยความเข้าใจที่ผิดๆ คือการอุด EGR Valve หรือ Exhaust Gas Recirculation EGR มีทั้งในเครื่องยนต์เบนซินและดีเซลมานานแล้ว แต่มักพูดถึงเฉพาะในเครื่องดีเซล

●   EGR มีไว้ลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX ซึ่งเป็นก๊าซที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินหายใจ และเป็นตัวก่อมลพิษในอากาศโดยตรง ทำให้เกิดฝนกรด และทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ กระบวนการทำงานของ ระบบ EGR คือการนำเอาไอเสียบางส่วนกลับมาเผาไหม้ใหม่ เพื่อควบคุมอุณหภูมิในห้องเผาไหม้ และปฏิกิริยาทางเคมีที่จะก่อให้เกิด NOX และการทำงานจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ดังนั้นการอุด EGR คือการตัดการทำงานของระบบหมุนเวียนไอเสีย ทำให้เครื่องยนต์ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิและปฏิกิริยาทางเคมีในห้องเผาไหม้ได้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบโดยตรงคือ เกิด NOX ในไอเสียมากขึ้น และทำให้อุณหภูมิในห้องเผาไหม้ร้อนผิดปกติ และการอุด EGR วาล์วด้วยแผ่นเหล็กแบบง่ายๆ อาจทำให้เกิดการรั่วของอากาศเข้าสู่เครื่องยนต์ ทำให้เกิดเขม่าสะสมมากผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายของเครื่องยนต์อีกด้วย

●   ดังที่ได้กล่าวไปแล้วว่า PM 2.5 มีแหล่งกำเนิดส่วนหนึ่งมาจากการที่ ไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX ไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นในอากาศทำให้เกิดเป็นฝุ่นละเอียด ดังนั้นการอุด EGR จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด PM 2.5 ซึ่งกำลังส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพของคนไทยโดยตรงในขณะนี้

●   ข้อแนะนำสำหรับประชาชนที่กำลังการขับขี่ยานพาหนะ หรือรถยนต์ ในขณะที่อากาศไม่ดี ให้เปิดแอร์โดยเลือกระบบอากาศแบบหมุนวนภายในห้องโดยสาร หรือถ้ามีแอร์ระบบอัตโนมัติ ให้ใช้โหมด full auto ควรหลีกเลี่ยงการเลือกระบบอากาศจากภายนอก อย่างไรก็ตามรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่มีการปล่อยค่าไอเสียที่สะอาดตามมาตรฐาน EURO 5 เช่น Mazda2, Mazda CX-3 และ Mazda CX-5 เครื่องยนต์ SkyActiv-D จะมีระบบบำบัดไอเสียที่ประกอบไปด้วย การออกแบบห้องเผาไหม้ที่มีประสิทธิภาพสูง เผาไหม้หมดจด และมี EGR (Exhaust Gas Recirculation) ซึ่งช่วยลดปริมาณไนโตรเจนออกไซด์ หรือ NOX และ DPF (Diesel Particulate Filter) ช่วยลดปริมาณเขม่าในไอเสีย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย

●   การป้องกันสุขภาพอันเกิดจากมลภาวะดังกล่าว เบื้องต้นที่หาได้ง่ายและปลอดมากที่สุดคือการสวมหน้ากากป้องกัน แต่ในระยาวทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจกันเพื่อลดการปล่อยไอเสียสู่บรรยากาศ

●   สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ มาสด้า ประเทศไทย เชิญได้ที่ www.mazda.co.th   ●