August 13, 2021
Motortrivia Team (10069 articles)

ผู้ชนะ Porsche Data Cup เสนอเครือข่ายบริการด้วยระบบดิจิทัล

ประชาสัมพันธ์

●   การแข่งขัน Porsche Data Cup ได้ถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเพื่อค้นหาผู้ชนะที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพด้าน การพัฒนานวัตกรรม ซึ่งดำเนินการแข่งขันโดยปอร์เช่ และ data platform High Mobility ผู้ชนะการแข่งขัน Porsche Data Cup จะได้รับโอกาสในการนำเสนอโครงการในงาน Startup Autobahn innovation platform สำหรับแอปพลิเคชั่นที่ได้รับการตัดสินให้ชนะในการแข่งขันครั้งนี้คือ แอปพลิเคชั่นที่รวบรวมเอา digital logbook ซึ่งรับหน้าที่ประเมินความเสียหาย ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ โดยอาศัยระบบปัญญาประดิษฐ์ artificial intelligence (AI) และการคำนวณทางประกันวินาศภัย ที่คิดค้นขึ้นโดยเฉพาะ ทีมที่ได้รับการตัดสินให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ได้นำเสนอนวัตกรรมดังกล่าวภายในงานนิทรรศการ Expo Day 10 เมื่อวันพุธที่ 21 กรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา

●   การแข่งขัน Porsche Data Cup เริ่มขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม โดยทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันจะต้องทำการพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจรูปแบบใหม่ ในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ e-mobility, smart home, การประกันภัย และ fintech เมื่อระบบฐานข้อมูลทางธุรกิจรูปแบบใหม่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ประมวลผล Porsche Car Emulator ผู้แข่งขันจะสามารถจำลองสถานการณ์การใช้งานแอปพลิเคชั่นได้อย่างเสมือนจริง รวมทั้งทดสอบการทำงานภายใต้สภาวการณ์เดียวกับที่เกิดขึ้นใน ระหว่างการขับขี่และการใช้งานฟังก์ชันดิจิทัลต่างๆ ในรถยนต์ คณะกรรมการผู้ตัดสิน คัดเลือกผลงานจากทีม AutoLogg SwissRe และ HDI เป็นผู้ชนะ ซึ่งทีมดังกล่าวได้นำเสนอผลงานที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ในงาน Expo Day 10 ให้แขก ผู้มีเกียรติกว่า 120 คน ในเมืองสตุ๊ทการ์ท และผู้เข้าร่วมงานในรูปแบบออนไลน์อีกกว่า 2,500 คน ได้รับชม

●   AutoLogg: สมุดบันทึกดิจิทัล (logbook digitalisation) : การใช้งานสมุดจดบันทึก หรือ logbook ในลักษณะเดิม เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ และมักจะเกิดความผิดพลาด การแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยระบบดิจิทัลในปัจจุบัน ทำได้โดยการใช้ข้อมูลพิกัดดาวเทียม GPS จากโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์เพิ่มเติมที่จำเป็น AutoLogg ได้นำเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหาด้วยเครือข่ายทางเลือกอัตโนมัติ ผ่านโปรแกรมอินเตอร์เฟส (Interface) , ซอฟแวร์การติดต่อสื่อสารโดยตรงกับรถยนต์ และการติดตามเส้นทางแบบ real time การเดินทางที่เกิดขึ้นสามารถบอกกิจกรรมทางธุรกิจ หรือกิจกรรมส่วนตัว ด้วยแอปพลิเคชั่นผู้ขับขี่รถยนต์สามารถเก็บสำรองข้อมูลได้ด้วยตนเอง และนำมาใช้ประโยชน์ได้จากการบันทึกข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำ

●   SwissRe: สถิติใหม่ของการเคลมประกันภัย (evaluating claims in record time) : SwissRe ได้คิดค้นและพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาที่ทันสมัย เพื่อใช้สำหรับแก้ปัญหาความล่าช้าในกระบวนการเคลมประกันภัย ผ่านการใช้งานในระบบปัญญาประดิษฐ์ artificial intelligence (AI) ซึ่งสามารถลดระยะเวลาที่ใช้ประเมินความเสียหายลงได้จนเหลือเพียงไม่กี่นาทีจากเดิมที่ใช้ระยะเวลาหลายวัน โดยมีวิธีการทำงานคือ เซนเซอร์ตรวจจับที่ได้รับการติดตั้งในรถยนต์จะสามารถตรวจสอบชิ้นส่วนที่เกิดความเสียหายขึ้นได้ในทันที หลังจากเกิดอุบัติเหตุ และจะส่งข้อมูลดังกล่าวผ่านแอปพลิเคชั่น ไปยังระบบของ SwissRe โดยตรง เจ้าหน้าที่ผู้อนุมัติสามารถดึงภาพถ่ายความเสียหาย และนำมาวิเคราะห์ได้ภายในเวลาไม่กี่นาทีโดยระบบปัญญาประดิษฐ์ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบชิ้นส่วนอะไหล่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุบัติเหตุ ซึ่งอะไหล่บางชิ้นอาจมีความจำเป็นต้องซ่อมบำรุง หรือเปลี่ยนใหม่ และสามารถประเมินราคาค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย ประโยชน์ที่ได้จากการเชื่อมต่อโดยตรงกับตัวรถ คือกระบวนการทำงานที่ง่ายขึ้นในการใช้เอกสารต่างๆ และการลดระยะเวลาในการดำเนินการสำหรับบริษัทประกันภัยและลูกค้า

●   HDI: ประกันภัยที่ออกแบบตามความต้องการของผู้ใช้งาน (tailored insurance solutions) : เครือข่ายข้อมูล ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของโครงการที่พัฒนาขึ้นโดย HDI ด้วยการเชื่อมผ่านแอปพลิเคชั่น ข้อมูลจากรถยนต์ อาทิ ระยะทางการขับขี่รถยนต์ จะได้รับการส่งต่อข้อมูลการขับขี่ดังกล่าว โดยตรงให้แก่ HDI ผู้ใช้งานสามารถตัดสินใจ ได้ด้วยความชัดเจนและโปร่งใส จากข้อมูลที่พร้อมรองรับตลอดเวลาผ่านหน้ากระดาน dashboard เป้าหมายของ HDI คือการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ผู้อนุมัติงานเคลมในกรณีที่รถยนต์มีการใช้งานระบบความปลอดภัยต่างๆ อาทิ ระบบ Lane Keeping Assist ในส่วนของลูกค้าจะได้รับผลประโยชน์จากความโปร่งใส และอัตราค่าเบี้ยประกันที่ปรับเปลี่ยนได้ตามความจำเป็นในการขับขี่ยานพาหนะของตนเอง

Christoph Acker ผู้จัดการโครงการกลยุทธ์นวัตกรรม ของปอร์เช่

●   Christoph Acker ผู้จัดการโครงการกลยุทธ์นวัตกรรม ของปอร์เช่ กล่าวว่า “ผลงานที่ได้รับการตัดสินให้ชนะเลิศทั้งหมดล้วนมีความโดดเด่นด้วยคุณภาพ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด เนื่องจากปัจจุบันสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เกิดความเปลี่ยนแปลงไป เราจึงจำเป็นต้องทุ่มเททำงาน และพิจารณาถึงแนวทางในการเชื่อมโยงเครือข่ายของเรากับโมเดลธุรกิจทันสมัยต่างๆ เพื่อจะนำเสนอประสบการณ์อันยอดเยี่ยมที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ให้แก่ลูกค้าของเรา”

●   Andy Grau Porsche ผู้จัดการด้านนวัตกรรม ของปอร์เช่ กล่าวเสริมว่า “ความสำเร็จของโครงการเหล่านี้ คือเครื่องหมายของกระบวนการคิดวิเคราะห์ซึ่งคำนึงถึงเครือข่ายการปฏิบัติงาน สำหรับปอร์เช่ ประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับคือศูนย์กลางของกิจกรรมทุกอย่างที่เราลงมือทำ และสิ่งนี้ก่อให้เกิดความปิติยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นว่าการบริการด้านดิจิทัลล้วนแล้วแต่ถูกค้นคว้าและพัฒนาขึ้น เพื่อตอบสนองหลักปรัชญาในการดำเนินงานที่เรามุ่งมั่นมาโดยตลอด”

●   ผู้ชนะจะได้รับโอกาสในการร่วมพัฒนาระบบ Porsche Connect Partner Services : ผู้ชนะในการแข่งขันจะได้รับโอกาสในการทดสอบอินเตอร์เฟส (Interface) ของระบบ Porsche Connect Partner Services (PCPS) ในระหว่าง Porsche Data Cup ทั้งนี้แพลตฟอร์มดังกล่าว จะเป็นการนำเสนอบริการเครือข่ายภายนอกพร้อม GDPR-compliant และเป็นการกำหนดมาตรฐานการเข้าถึงข้อมูลของรถยนต์ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดในการพัฒนา ยนตรกรรมสปอร์ตได้ในอนาคต เจ้าของรถยนต์สามารถตัดสินใจคัดเลือกข้อมูลที่ต้องการใช้งาน และจัดเตรียมเนื้อหา ที่ต้องการเผยแพร่ได้ตลอดเวลา ในอนาคตบริการนี้จะสามารถสื่อสารกับโครงข่ายที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่รถยนต์ทั้งหมด ผู้ชนะการแข่งขัน Porsche Data Cup จะได้รับสิทธิ์เข้าถึงบริการข้างต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมทั้งสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากปอร์เช่ หลังจากผ่านขั้นตอนการทดสอบแล้ว ทุกแพลตฟอร์มได้เริ่มใช้งานเมื่อเดือนกรกฎาคม 2021 ที่ผ่านมา

เกี่ยวกับ Startup Autobahn

●   แพลตฟอร์มนวัตกรรม Startup Autobahn มีบทบาทในการเชื่อมโยงระหว่างองค์กรอุตสาหกรรมระดับชั้นนำ และบริษัท start-up ด้านเทคโนโลยีในเมืองสตุ๊ทการ์ท กิจกรรมนี้ทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิก และองค์กร start-up โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาโครงการต้นแบบ ประเมินความเป็นไปได้ในส่วนของการจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจของทั้ง 2 หน่วยงานในอนาคตเพื่อ ทดสอบความพร้อมในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และกระบวนการผลิต

●   แต่ละโครงการจะถูกกำหนดให้มีระยะเวลาดำเนินงานเบื้องต้นที่ 6 เดือน มีบริษัทที่มีชื่อเสียงหลายแห่งเข้าร่วมกิจกรรมนี้ นอกจากปอร์เช่ยังมี Daimler, University of Stuttgart, Arena 2036, DXC Technology, ZF Friedrichshafen, Bosch, Schaeffler และ BASF อีกด้วย ปอร์เช่ได้มีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของแพลตฟอร์ม Startup Autobahn นับตั้งแต่แรกมากกว่า 80 โครงการ ประมาณ 1 ใน 3 ของผลงาน ได้นำไปเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาของบริษัท

●   สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปอร์เช่ในประเทศไทยได้ที่ AAS Auto Service Co., Ltd. โทร. 02-522-6655 ext. 101-103 หรือ dealer.porsche.com/thailand    ●