November 28, 2021
Motortrivia Team (10196 articles)

Bridgestone นำร่องจัดทำโครงการ Global Road Safety

ภาพ : สุพรรณี ยังอยู่

●   บริษัท ไทยบริดจสโตน จํากัด ขานรับจัดทำโครงการ Bridgestone Global Road Safety (บริดจสโตน โกลบอล โรด เซฟตี้) กิจกรรมเพื่อสังคมของกลุ่มบริษัทบริดจสโตนทั่วโลกตามนโยบาย Our Way to Serve นำร่องเป็นประเทศแรก

●   โครงการนี้ ไทยบริดจสโตนร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรเครือข่าย มูลนิธิเพื่อความปลอดภัยทางถนน (Global Road Safety Partnership) และภาคีในพื้นที่ สร้างจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน และความสำคัญของการรักษากฎวินัยจราจรสู่เด็กและเยาวชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่โดยอิงผลจากงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก ร่วมกับปัจจัยแวดล้อมในแต่ละพื้นที่ พร้อมแนวทางปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบโรงเรียนให้ปลอดภัยตามมาตรฐานของ iRAP เจาะกลุ่มเป้าหมายระดับมัธยมศึกษาตอนปลายพร้อมส่งเสริมให้เป็นเยาวชนแชมเปี้ยนด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของบริดจสโตน (Bridgestone Road Safety Youth Champions) เพื่อส่งต่อสังคมขับขี่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน ประกาศเปิดโครงการครั้งแรก ณ โรงเรียนกะทู้วิทยา จังหวัดภูเก็ต

มร. เคอิจิ ชูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด

●   มร. เคอิจิ ชูมะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด กล่าวว่า “ตามรายงานสถานการณ์โลกด้านความปลอดภัยทางถนนขององค์การอนามัยโลก (WHO-World Health Organization) อุบัติเหตุกว่าครึ่งได้คร่าชีวิตผู้คนบนท้องถนน ทั้งคนเดินเท้า นักปั่นจักรยาน และผู้ขับขี่จักรยานยนต์ ดังนั้น บริดจสโตนจึงจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อผลักดันให้เกิดการเดินทางที่ฉลาดขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ผ่านโครงการ Bridgestone Global Road Safety ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อสังคมที่บริดจสโตนทั่วโลกร่วมกันจัดขึ้น ตามนโยบาย Our Way to Serve ที่มีสามเสาหลัก คือ Mobility, Environment และ People เพื่อเสริมสร้างสังคมขับขี่ปลอดภัย”

●   “ประเทศไทยเป็นประเทศแรกของกลุ่มบริษัท บริดจสโตนทั่วโลกที่นำร่องจัดทำโครงการนี้ เนื่องจากประเทศไทยมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก* ดังนั้นอุบัติเหตุทางถนนจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อประเทศอย่างต่อเนื่องยาวนาน และสมควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยการสนับสนุนกระบวนการจัดการการเรียนรู้ในสถานศึกษาในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อการสร้างจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน และความสำคัญของการรักษากฎวินัยจราจรสู่เด็กและเยาวชน โดยมุ่งเน้นไปที่กลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่ขับขี่จักรยานยนต์เป็นประจำ รวมทั้งประเมินพื้นที่รอบๆ เพื่อให้แนวทางปรับปรุงถนนรอบโรงเรียนให้มีความปลอดภัยแก่นักเรียน คุณครู ผู้ปกครองและผู้ที่อยู่อาศัยในพื้นที่โดยรอบตามมาตรฐานของ International Road Assessment Programme (iRAP)1”

●   “ทั้งนี้ ความร่วมมือของภาคีในพื้นที่ เช่น ในจังหวัดภูเก็ต ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง อบจ. ภูเก็ต เทศบาลเมืองกะทู้ โรงเรียนกะทู้วิทยา และพันธมิตรทางธุรกิจของบริดจสโตน เป็นต้น เพื่อลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากการจราจรทางบกตามเป้าหมายเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDG) ขององค์การสหประชาชาติ”

●   “การดำเนินงานในครั้งแรกนี้มุ่งเป้าไปที่ 4 โรงเรียนในเมืองใหญ่ของแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ ภูเก็ต นครสวรรค์ เชียงราย และขอนแก่น และตั้งเป้าจะดำเนินโครงการนี้ให้ได้ปีละ 4 โรงเรียนตลอดระยะเวลา 5 ปี”

●   คุณธนารักษ์ กาญจนขันธกุล ผู้จัดการฝ่ายสร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่ดีต่อสังคม บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด กล่าวถึงกิจกรรมในครั้งนี้ว่า “โครงการ Bridgestone Global Road Safety ครั้งแรกนี้ มีระยะเวลาดำเนินตั้งแต่กันยายน 2021 – เมษายน 2022 พื้นที่เป้าหมาย คือ โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต นครสวรรค์ เชียงราย และขอนแก่น จังหวัดละ 1 โรงเรียน”

ดร. ปัญณ์ จันทร์พาณิชย์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนามาตรการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจร กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค

วัตถุประสงค์และกิจกรรมหลักๆ ประกอบด้วย

●   School-Base Education: การจัดแผนการเรียนรู้และเพิ่มพูนทักษะตามหลักสูตรความปลอดภัยทางถนนที่ได้รับการออกแบบให้สอดคล้องกับปัจจัยแวดล้อมด้านการจราจรในแต่ละพื้นที่โรงเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญจาก กลุ่มงานพัฒนามาตรการป้องกันการบาดเจ็บจากการจราจร กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค มาประกอบร่วมกับผลวิจัยด้านพฤติกรรมของบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก เพื่อให้นักเรียนได้นำความรู้มาปรับใช้ในชีวิตจริง รู้วิธีประเมินและจัดการความเสี่ยงในแต่ละสถานการณ์ พร้อมกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ถนนที่ปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียนเป้าหมายในรูปแบบของเกมการแข่งขัน หรือการรณรงค์วันความปลอดภัยการจราจร

●   Empowerment: เพิ่มขีดความสามารถของเยาวชนที่เปี่ยมด้วยพลังและความกระตือรือร้นในฐานะผู้สนับสนุนความปลอดภัยทางถนนในชุมชนท้องถิ่นของตน สร้างเยาวชนแชมเปี้ยนด้านความปลอดภัยของบริดจสโตน (Bridgestone Road Safety Youth Champions) รุ่นแรก เพื่อปลูกฝังภาวะผู้นำและความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนน โดยจะคัดเลือกนักเรียน 2 คนจากโรงเรียนเป้าหมายแต่ละแห่ง รวม 8 คนเข้าร่วมหลักสูตรอบรมเร่งรัดเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนในกรุงเทพฯ สนับสนุนให้เข้าไปมีบทบาทแสดงความคิดเห็นในงานด้านความปลอดภัยทางถนนระดับชาติ ต่อยอดสร้างสรรค์กิจกรรมด้านความปลอดภัยและส่งต่อแนวคิดไปยังคนรุ่นต่อ ๆ ไปในชุมชน

●   Road Safety Assessments (RSAs): การประเมินเขตความปลอดภัยของโรงเรียนในเชิงลึกโดยเครื่องมือและมาตรฐานของ iRAP และใช้หลักความรู้ด้านวิศวกรรมจราจรที่โรงเรียนเป้าหมาย เพื่อกำหนดการปรับปรุงที่จำเป็นเพื่อความปลอดภัยบนทางเท้าและการจราจรในละแวกใกล้โรงเรียนให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการประเมินความปลอดภัยของถนนโดยใช้เครื่องมือการให้คะแนนระดับดาวสำหรับโรงเรียน (Star Rating for School – SR4S) ในประเทศไทยเป็นครั้งแรกอีกด้วย โดยการประเมินระดับความปลอดภัยบนท้องถนน มีมาตรฐานระดับดาวคือ 0-5 ดาว2 ซึ่งจะพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของถนน ประกอบกับสภาพของการจราจร โดยพิจารณาจากมิติของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ผู้ใช้จักรยาน และคนเดินเท้า โดยบริดจสโตนจะเลือก 1 โรงเรียนในทุกปี เพื่อทำการปรับปรุงพื้นที่บริเวณโดยรอบโรงเรียน ให้ได้มาตรฐาน 3 ดาวขึ้นไป

●   Local engagement: หลังจากการประเมินเขตความปลอดภัยแล้วจะมีการประสานงานกับภาคีในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานในโรงเรียนเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความปลอดภัยการใช้ถนนในฐานะส่วนหนึ่งของชุมชนอย่างยั่งยืน

คุณจักรกฤษณ์ ศิริวัฒน์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพังงา ภูเก็ต ระนอง

●   บริดจสโตนเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัยบนท้องถนนมาโดยตลอด อาทิ โครงการเสริมสร้างวินัยจราจร สู่ความปลอดภัยในทุกการเดินทาง และโครงการ B-Safe บริดจสโตนขับขี่ปลอดภัย ทำใบขับขี่รถยนต์วันเสาร์-อาทิตย์ เป็นต้น สำหรับโครงการล่าสุด “Bridgestone Global Road Safety” เป็นการร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรเครือข่าย มูลนิธิเพื่อความปลอดภัยทางถนน (Global Road Safety Partnership) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อยู่ภายใต้สหพันธ์สภากาชาดและสภาเสี้ยววงเดือนแดงระหว่างประเทศ (International Federation of the Red Cross and Red Crescent Societies – IFRC) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถและการฝึกอบรมแก่ผู้ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยทางถนน มีส่วนร่วมในการรณรงค์และประสานงานโครงการความปลอดภัยทางถนนในระดับโลก และเป็นแหล่งความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับความปลอดภัยทางถนนที่เป็นที่ยอมรับ

(1) iRAP เป็นหน่วยงานการกุศล (Registered Charity) ที่มีจุดเริ่มต้นจากประเทศในกลุ่มยุโรป ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1999 โดยร่วมงานกับองค์กรหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ในการกำหนดเกณฑ์นานาชาติเพื่อยกระดับถนนให้มีความปลอดภัยภายใต้เกณฑ์มาตรฐานที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและสามารถเข้าใจตรงกันทุกประเทศ ในปัจจุบัน Road Assessment Programmes ได้ถูกนำไปใช้กว่า 100 ประเทศทั่วโลก โดยหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนในการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน เช่น United Nations Road Safety Trust Fund หรือ World Bank ต่างให้ความสำคัญที่จะสนับสนุนก่อสร้างเส้นทางใหม่ หรือปรับปรุงเส้นทางเดิมให้มีค่า Star Rating ตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป (3-star or better) ซึ่งมีหลายประเทศที่สามารถลดการชนทางถนนลงเหลือหนึ่งในสามหรือหนึ่งในสี่ระหว่างปีพ.ศ. 2523 ถึงปีพ.ศ. 2556 เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน เดนมาร์ค ได้ใช้แนวคิดระบบที่ปลอดภัย หรือ Safe system ซึ่งถือว่าร่างกายมนุษย์เปราะบางต่อแรงกระทบกระแทกจาการชนและมนุษย์มีความผิดพลาดพลาดพลั้งได้เสมอ ดังนั้น ระบบ Safe System จึงสร้างปัจจัยปลอดภัยที่เอื้อต่อคน รถ ถนน ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการจัดการให้เกิดความเร็วที่ปลอดภัยกับบริบทของพื้นที่ โดยมีมาตรการด้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งให้การศึกษา การบังคับใช้กฎหมาย การมียานพาหนะปลอดภัยซึ่งปัจจุบันมีมาตรฐานที่เรียกว่า New Car Assessment Programme (NCAP) สำหรับด้านถนนปลอดภัย International Road Assessment Programme (iRAP) ก็เป็นมาตรการสำคัญที่จะทำให้ถนนปลอดภัยมากขึ้น

●   (2) มาตรฐานการประเมินถนน iRAP เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถใช้เป็นมาตรวัดระดับความปลอดภัยทางถนน ซึ่งจะพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ ของถนน ประกอบกับสภาพของการจราจร โดยพิจารณาจากมิติของกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ผู้ใช้จักรยาน และคนเดินเท้า ถนนที่ได้คะแนนความเสี่ยงต่ำในระดับ 5 ดาวจัดเป็นถนนที่มีความปลอดภัยสูงสุด และถนนที่ได้คะแนนความเสี่ยงสูงในระดับ 1 ดาวจะเป็นถนนที่มีความปลอดภัยต่ำสุด ซึ่งมาตรฐานและค่าเป้าหมายของถนนที่ปลอดภัยที่นานาชาติยอมรับควรอยู่ที่ตั้งแต่ 3 ดาวขึ้นไป

หมายเหตุ : *อ้างอิงจาก www.sdgmove.com/2021/05/15/sdg-insights-road-safety-thailand

เกี่ยวกับ บริดจสโตน ประเทศไทย

●   บริษัท บริดจสโตน คอร์ปอเรชั่น มีสำนักงานใหญ่ที่โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผู้นำระดับโลกด้านการเดินทางอย่างยั่งยืนพร้อมนำเสนอโซลูชั่นขั้นสูงสุด และสำหรับประเทศไทย บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด คือหนึ่งในผู้ผลิตชั้นนำในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และบริษัท บริดจสโตนเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการนำเข้า จัดจำหน่าย และทำการตลาดยางรถยนต์ภายใต้แบรนด์บริดจสโตน, ไฟร์สโตน และเดย์ตันแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย เราได้รับความเชื่อมั่นจากลูกค้า, ผู้แทนจำหน่าย และพันธมิตรทางธุรกิจจากความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ยางรถยนต์ที่มาพร้อมกับคุณภาพด้านผลิตภัณฑ์ที่ได้ถูกพัฒนาให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพแวดล้อมในประเทศ เพื่อการส่งมอบคุณค่าให้แก่สังคมและลูกค้าภายใต้เจตนารมณ์การแสดงความรับผิดชอบของ บริดจสโตน หรือ Our Way to Serve บริดจสโตนมุ่งมั่นพัฒนาการเดินทาง, การใช้ชีวิต, การทำงาน และการพักผ่อนของผู้คน เพื่อสร้างสรรค์อนาคตของการเดินทางให้ยั่งยืน

●   สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ บริดจสโตน ประเทศไทย เชิญได้ที่ www.bridgestone.co.th หรือ facebook.com/BridgestoneTH

2021 Bridgestone Global Road Safety