May 11, 2023
Motortrivia Team (10156 articles)

การประชุมเทคโนโลยีแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าครั้งแรกของอาเซียน

ประชาสัมพันธ์

●   บาหลี 10 พฤษภาคม 2566: การสร้างระบบนิเวศธุรกิจที่โดดเด่นและความร่วมมือทางธุรกิจที่เข้มแข็งระหว่างกันของผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้า (EV) คือ ผลสัมฤทธิ์หนึ่งที่การประชุมด้านเทคโนโลยีแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าแห่งอาเซียน (ABEVTC) มุ่งหวังให้เกิดขึ้น โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันนี้ที่บาหลี อินโดนีเซีย และจะมีไปถึงวันที่ 11 พฤษภาคม 2023 นี้

●   การประชุมดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือกันของกลุ่มความร่วมมือธุรกิจแบตเตอรี่แห่งสิงคโปร์ (Singapore Battery Consortium), ศูนย์เทคโนโลยีการขนส่งที่ยั่งยืนแห่งชาติ ประเทศอินโดนีเซีย (NCSTT) โดยการสนับสนุนจาก Hioki E.E Corporation บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือเพื่อการทดสอบและวัดขนาด ซึ่งการประชุมจะก่อให้เกิดโอกาสใหม่ๆ, แนวคิดเชิงนวัตกรรม และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนักวิชาชีพ นักวิชาการและผู้พัฒนานโยบายจากกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างผู้เล่นในอุตสาหกรรมเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนสำหรับความร่วมมือในอนาคต

●   จุดเด่นของการประชุม คือ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างสมาคมชั้นนำ 6 แห่งของภูมิภาค เพื่อหาแนวทางความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเรื่องแบตเตอรี่ ฝ่ายต่างๆ มุ่งมั่นที่จะร่วมพัฒนาและส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมด้านแบตเตอรี่ของอาเซียนเพื่ออำนวยความสะดวกและส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในภูมิภาคนี้

●   ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) นี้ สมาคมต่างๆ จะประสานความร่วมมือในด้านต่างๆ ต่อไปนี้

  • ร่วมกันพัฒนาและส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ในอาเซียน
  • จัดงานเสริมสร้างโอกาสการสร้างเครือข่าย
  • วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ความปลอดภัย มาตรฐานและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy)

●   สมาคมทั้ง 6 ประกอบด้วย กลุ่มความร่วมมือด้านแบตเตอรี่แห่งสิงคโปร์ (SBC) ศูนย์เทคโนโลยีการขนส่งที่ยั่งยืนแห่งชาติ ประเทศอินโดนีเซีย (NCSTT) สมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) สถาบันวิจัยแบตเตอรี่แห่งชาติ (NBRI) ประเทศอินโดนีเซีย องค์กรนาโนมาเลเซีย เบอร์แฮด และสมาคมรถยนต์ไฟฟ้าแห่งฟิลิปปินส์ (EVAP) ซึ่งได้ให้คำมั่นที่จะทำงานร่วมกันเพื่อขยายความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่แห่งภูมิภาค และมุ่งมั่นต่อการพัฒนาการประสานความร่วมมือระหว่างผู้เล่นต่างๆ ในอุตสาหกรรมให้เติบโตยิ่งๆ ขึ้นต่อไป

●   ดร. เดวี่ เฉียง ผู้อำนวยการกลุ่มความร่วมมือด้านแบตเตอรี่แห่งสิงคโปร์กล่าวว่า “อาเซียนเป็นภูมิภาคที่ทวีความสำคัญมากขึ้นๆ ในการเป็นระบบนิเวศของอุตสาหกรรมด้านแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าทั้งในด้านของห่วงโซ่อุปทาน และการวิจัยและพัฒนา ความสัมพันธ์นี้ มุ่งนำผู้เล่นที่หลากหลายเข้ามาร่วมทำงานแบบประสานพลัง และเพื่อจัดให้มีแพลตฟอร์มที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับการสร้างเครือข่าย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการประสานความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน”

●   ดร. พิมพา ลิ้มทองกุล ประธานสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA) กล่าวว่า “บันทึกความเข้าใจที่จะลงนามร่วมกันระหว่างองค์กรชั้นนำ 6 แห่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นี้ คาดว่าจะนำมาซึ่งการสร้างความแข็งแกร่งในการประสานความร่วมมือในภูมิภาคของเรา ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับเราทุกคนที่จะมุ่งไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญและเติบโตอย่างรวดเร็วนี้”

●   ดร. ลีโอนาร์โด คุณาวรรณ ผู้อำนวยการ NCSTT กล่าวว่า “เราคาดหวังและรู้สึกตื่นเต้นที่จะร่วมมือกับสถาบันต่างๆ ในอาเซียนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมระบบนิเวศอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของอาเซียน ซึ่งถือเป็นก้าวที่สำคัญสู่การระบบขนส่งแบบบูรณาการและยั่งยืนของประเทศอินโดนีเซีย ความร่วมมือของเราจะสร้างความก้าวหน้าเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ ความปลอดภัย มาตรฐานด้านต่างๆ และการวิจัยด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการขนส่งที่แข่งขันได้ พร้อมการสนับสนุนที่แข็งแกร่งระดับชาติ ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จและการเติบโตของอุตสาหกรรมการจัดเก็บพลังงานในภูมิภาค

●   ศ.ดร. เรอร์ แน็ต เอ็ฟวี่ คาร์ทินิ ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยแบตเตอรี่แห่งชาติ (NBRI) กล่าวว่า “อินโดนีเซียมีศักยภาพในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่อย่างสูง ด้วยการมีแหล่งแร่นิกเกิล แมงกานีส และแร่อื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการผลิตแบตเตอรี่ สถาบันวิจัยแบตเตอรี่แห่งชาติ (NBRI) มีความกระตือรือร้นอย่างยิ่งที่จะยกระดับขีดความสามารถในการผลิตของประเทศด้วยการพัฒนาสู่ความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยี การพัฒนาทรัพยากรบุคคล และมีนโยบายให้คำแนะแนวทางอย่างจริงจัง การประสานความร่วมมือกับองค์กรอื่นๆ ใน ASEAN เพื่อส่งเสริมตำแหน่งผู้เล่นหลักของประเทศอินโดนีเซียในภูมิภาค”

●   ดร. เรเซล ไครี บิน อาเหม็ด ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนาโนมาเลเซีย เบอร์แฮด กล่าวว่า “นาโนมาเลเซียมีความรู้สึกตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือพหุภาคีระหว่างองค์กรต่างๆ ที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้าและแบตเตอรี่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อจะก่อให้เกิดห่วงโซ่อุปทานและห่วงโซ่คุณค่าสำหรับส่วนประกอบของรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การลงทุนด้านนี้ในภูมิภาคเป็นยุทธศาสตร์และน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งทำให้ความเป็นไปได้ที่คนทั่วไปจะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้ามีมากขึ้น”

●   ประเด็นอื่นๆ ที่สำคัญซึ่งได้รับการคาดหวังจากการจัดงานนี้ คือ การอภิปรายโต๊ะกลมเกี่ยวกับการกำจัดคาร์บอนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลในอาเซียน ระหว่างสถาบันชั้นนำของภูมิภาคที่อยู่ในวงการแบตเตอรี่และพลังงานไฟฟ้าสีเขียว การมีเวทีอภิปรายเรื่องเทคโนโลยีการเปลี่ยนแบตเตอรี่ และเศรษฐกิจหมุนเวียนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่

●   ยิ่งไปกว่านั้นยังมีบรรยายพิเศษจากตัวแทนของบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมการจัดเก็บพลังงาน และรถยนต์ไฟฟ้า เช่น UL Standards & Engagement (ULSE) บริษัท Honda R&D จำกัด (ประเทศญี่ปุ่น), Mobility Open Blockchain Initiative (MOBI), บริษัท ZF Japan จำกัด, PT Pertamina (Persero) และ PT. Energi Kreasi Bersama (Electrum) รวมถึงการให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรม 15 ราย จาก HIOKI E.E. Corporation, บริษัท ANWHA (Shanghai) Automation Engineering จำกัด บริษัท Arthur D. Little, Indonesia Battery Corporation (IBC) บริษัท CADFEM SEA Pte. จำกัด บริษัท ULVAC Technologies จำกัด NanoMalaysia Berhad, Advanced Remanufacturing and Technology Centre (ARTC), Malaysia Automotive, สถาบัน Robotics and IoT Institute (MARii), สมาคมรถยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศฟิลิปปินส์ (EVAP) และอื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีหัวข้อเกี่ยวกับการประสานความร่วมมือด้านแบตเตอรี่ของอาเซียน เศรษฐกิจหมุนเวียนของอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ เทคโนโลยีการออกแบบและการผลิต การทดสอบและการปรับค่าด้านความปลอดภัย

●   สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเชิญได้ที่ www.aseanbatteryev.com/abevtc-2023

เกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนแห่งชาติ (NCSTT)

●   ศูนย์เทคโนโลยีด้านการขนส่งอย่างยั่งยืนแห่งชาติ (NCSTT) หรือ Pusat Pengembangan Teknologi Transportasi Berkelanjutan จากประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์วิจัยแบบสหวิทยาการมุ่งเน้นเรื่องการดำเนิน สนับสนุนและส่งเสริมวิศวกรรมประยุกต์และเทคโนโลยีสำหรับการขนส่งในประเทศอินโดนีเซีย NCSTT เป็นที่รู้จักในระดับโลกในฐานะของศูนย์วิจัยที่มุ่งเน้นเรื่องการส่งเสริมและฟูมฟักอุตสาหกรรมการขนส่งแห่งชาติเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของประเทศ NCSTT ได้สร้างการเชื่อมโยงเครือข่ายและการประสานความร่วมมือด้านการวิจัยกับองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านการขนส่งระดับชาติมากมาย เช่นอุตสาหกรรมรถยนต์ รถไฟ อากาศยาน เช่นเดียวกับสถาบันวิจัยและมหาวิทยาลัย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เกี่ยวกับกลุ่มความร่วมมือด้านแบตเตอรี่แห่งประเทศสิงคโปร์ (Singapore Battery Consortium หรือ SBC)

●   กลุ่มความร่วมมือด้านแบตเตอรี่แห่งประเทศสิงคโปร์ (Singapore Battery Consortium หรือ SBC) มุ่งหมายที่จะส่งเสริมความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ในการวิจัยและพัฒนาระหว่างองค์กรด้านการวิจัยของภาครัฐกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านพัฒนาและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแบตเตอรี่ SBC มุ่งที่จะพัฒนาและกระตุ้นระบบนิเวศน์อุตสาหกรรมท้องถิ่นในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ผ่านแพลตฟอร์มความร่วมมือนี้ กลุ่มความร่วมมือนี้ตั้งอยู่ที่สถาบันวิจัยและวิศวกรรมด้านวัสดุศาสตร์ (IMRE) แห่ง A*STAR และได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันวิจัยแห่งชาติของประเทศสิงคโปร์ (NRF)

●   ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ความสนใจในเชิงพาณิชย์เกี่ยวกับการพัฒนาแบตเตอรี่ได้พุ่งสูงขึ้น สอดคล้องกับอุปสงค์ในเรื่องสมรรถนะของแบตเตอรี่ และคุณลักษณะด้านสมรรถนะที่แตกต่างกันไปของแบตเตอรี่สำหรับการใช้งานของอุปกรณ์เคลื่อนที่และพกพาที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะสามารถตอบสนองอุปสงค์ดังกล่าวสถาบันแบตเตอรี่แห่งประเทศสิงคโปร์จึงได้นำเอาผลสัมฤทธิ์จากห้องทดลองออกสู่ตลาดด้วยการทำให้นักวิจัยสามารถเข้าใจรายละเอียดความต้องการทางธุรกิจ ในขณะที่ทำให้บริษัทสามารถเข้าถึงงานวิจัยและเทคโนโลยีล่าสุดเกี่ยวกับแบตเตอรี่ซึ่งจะช่วยเสริมความพยายามในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทได้ด้วย

เกี่ยวกับสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (TESTA)

●   TESTA หรือสมาคมเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทยมุ่งหมายที่จะช่วยในการเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, ให้ความรู้แก่ประชาชน ส่งเสริมความเข้าใจ และให้การสนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำหรับเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บพลังงานของประเทศไทย TESTA จดทะเบียนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2564 โดยสถาบันผู้ร่วมก่อตั้งทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ สถาบันพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสมาคมรถยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทย (EVAT) โดยมีสมาชิกของสมาคมกว่า 60 ราย รวมถึงผู้ที่สนใจในเทคโนโลยีด้านการจัดเก็บพลังงานอย่างจริงจังจากหลายภาคส่วน ทั้งสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย หน่วยงานรัฐ ผู้กำหนดนโยบายและองค์กเอกชนในอุตสาหกรรม

เกี่ยวกับบริษัท Hioki E.E Corporation

●   HIOKI E.E Corporation เป็นบริษัทญี่ปุ่นชั้นแนวหน้าของธุรกิจด้านอุปกรณ์ตรวจวัดและทดสอบสำหรับงานไฟฟ้ามากว่า 80 ปี บริษัทได้ทุ่มเทอย่างจริงจังสำหรับแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้กำหนดวิสัยทัศน์ Beyond Measure Vision 2030 ที่ยิ่งใหญ่ โดยยึดโยงกับเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ระยะยาวของบริษัท รวมถึงการลดผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม การส่งเสริมความหลากหลาย การมีส่วนร่วมและการฟูมฟักนวัตกรรมในองค์กรด้วย

●   นอกเหนือจากความพยายามในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ HIOKI แล้ว บริษัทยังพยายามผลักดันการเติบโตให้เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้าด้วย บริษัทกำลังพัฒนาเทคโนโลยีระดับก้าวหน้าซึ่งจะสนับสนุนการผลิตและการทดสอบแบตเตอรี่ เช่น ตัวทดสอบความต้านทานต่อไฟฟ้าสลับ (Impedance tester) และยังประสานความร่วมมือกับผู้เล่นในอุตสาหกรรมรายอื่นๆ เพื่อที่จะพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น HIOKI ยังส่งเสริมการยอมรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าด้วยการเสนอผลิตภัณฑ์ที่รองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและการทดสอบแบตเตอรี่ที่หลากหลาย ด้วยการสนับสนุนการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่และรถยนต์ไฟฟ้า HIOKI ได้มีส่วนช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากกว่าเดิม         ●