July 27, 2017
Motortrivia Team (10202 articles)

Ford และระบบแจ้งเตือนอาการเหนื่อยล้าผู้ขับ Driver Alert System


Press Release

 

●   ชั่วโมงทำงานที่ยาวนาน ไลฟ์สไตล์ที่เคร่งเครียด และเวลานอนที่ไม่เพียงพอ กำลังทำให้หลายพันชีวิตในเอเชีย แปซิฟิค ตกอยู่ในความเสี่ยง ผู้ขับขี่จำนวนมากรู้สึกเหนื่อยล้า และผลกระทบนั้นน่าตกใจเป็นอย่างมาก

●   จากผลวิจัยเผยว่า หลายประเทศในเอเชีย แปซิฟิค มีจำนวนผู้ขับขี่ที่พักผ่อนไม่เพียงพอมากที่สุดในโลก ในประเทศไทย ภาวะง่วงนอนระหว่างขับรถคือหนึ่งในสามสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน ในปี พ.ศ. 2559 ในกรุงโซล ระยะเวลานอนของผู้คนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 6 ชั่วโมงต่อวัน ในประเทศจีน ภาวะง่วงนอนระหว่างขับรถคือหนึ่งในสาเหตุหลักของอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยตัวเลขสูงมากกว่า 187,000 ครั้งต่อปี และในประเทศออสเตรเลีย 29 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใหญ่ ขับรถขณะง่วงนอนอย่างน้อย 1 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ 20 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าผล็อยหลับขณะขับขี่

●   เมื่ออยู่หลังพวงมาลัย การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอส่งผลเสียต่อความสามารถในการขับขี่ ทั้งสมาธิที่ลดลงและการตอบสนองที่ช้าลง เทียบได้กับผู้ขับขี่ที่ดื่มแอลกอฮอล์

●   บนทางด่วนและทางหลวงพิเศษจึงมีป้ายเครื่องหมายจราจรเหนือศีรษะและข้างทาง เพื่อเตือนถึงอันตรายของการฝืนขับรถทั้งที่ง่วงนอน ซึ่งในปัจจุบันรถยนต์เองก็สามารถส่งสัญญาณเตือนคนขับที่เริ่มจะผล็อยหลับได้เช่นกัน สำหรับฟอร์ดได้พัฒนาระบบแจ้งเตือนการขับขี่ (Driver Alert System) ซึ่งใช้กล้องหน้าเพื่อจับช่องแบ่งเลนและจับการเคลื่อนไหวที่ส่ายออกจากเลน และขึ้นสัญลักษณ์ถ้วยกาแฟ เพื่อเตือนผู้ขับขี่ว่าอาจถึงเวลาที่ควรหยุดพักแล้ว

●   “อาจมีความกดดันมากมายที่ทำให้ผู้ขับขี่ต้องขับรถต่อไป โดยไม่ยอมหยุดพัก ไม่ว่าใครก็อยากกลับบ้านให้เร็วที่สุดทั้งนั้น แต่สัญลักษณ์ถ้วยกาแฟเล็กๆ นี้ จะเป็นสัญญาณเตือนที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยเตือนว่าวิธีกลับบ้านที่ดีที่สุดคือการกลับอย่างปลอดภัย และนั่นอาจหมายถึงการจอดรถข้างทางและหยุดพักสักครู่ หรือดื่มกาแฟสักแก้ว”  แอนเดรจ โลเว็น (Andrej Loewen) วิศวกรระบบผู้ช่วยคนขับจากทีมวิศวกรรถยนต์ ฟอร์ด กล่าว

●   ฟอร์ดยังคงพัฒนาระบบนี้อย่างต่อเนื่อง โดยระบบนี้เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเกือบทศวรรษที่แล้ว สำหรับในประเทศไทย เทคโนโลยีล่าสุดนี้มาใน Ford Everest รุ่น Titanium Plus และ Ford Ranger Wildtrak 3.2 ลิตร   ●

ข้อมูลอ้างอิง: สำนักงานอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง bhs.doh.go.th/statistic/cause.