Toyota Asia เสนอวิสัยทัศน์ในงาน Japan Mobility Show 2023
ประชาสัมพันธ์
● มร. มาซาฮิโกะ มาเอดะ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารภูมิภาคเอเชีย บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น แถลงให้ข้อมูลแก่สื่อมวลชน เกี่ยวกับทิศทางของ โตโยต้า ที่มีต่อการขับเคลื่อนในอนาคตสำหรับกลุ่มประเทศในทวีปเอเชีย โดยในงาน Japan Mobility Show 2023 ครั้งนี้ โตโยต้าจัดแสดงภายใต้แนวคิด “ร่วมพลิกโฉมอนาคตแห่งยานยนต์ – Find Your Future” ซึ่งเป็นการรวบรวมจิตวิญญาณแห่งการสืบสานและวิวัฒนาการ
● ในแง่ของการสืบสาน โตโยต้า จะยังคงมุ่งมั่นเป็นบริษัทที่สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด (Product Centered) เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในแต่ละภูมิภาค (Region Based) โดยเรามุ่งเปลี่ยนสู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนอย่างแท้จริง ผ่านการนำเสนอหลากทางเลือกด้านเทคโนโลยี เพื่อมุ่งบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมเพิ่มคุณค่าของการขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน
ทิศทางในระดับโลกของโตโยต้า
● ภายใต้แนวคิดสำคัญคือ “ความเป็นกลางของคาร์บอน” และ “การเพิ่มคุณค่าของการขับเคลื่อน” โตโยต้า ได้วาง “คอนเซปต์ของการขับเคลื่อน” อย่างพิถีพิถัน โดยมีเสาหลักสำคัญ ได้แก่ การใช้พลังงานไฟฟ้า (Electrification) การสร้างความหลากหลาย (Diversification) และการเสริมความอัจฉริยะ (Intelligence)
แนวคิดหลักการขับเคลื่อนของโตโยต้า
การใช้พลังงานไฟฟ้า
● โตโยต้า มุ่งนำเสนอการเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multi – Pathway” ผ่านการพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะของลูกค้าและของภูมิภาค สำหรับภูมิภาคเอเชียที่มีหลายปัจจัยอันส่งผลกระทบต่อเส้นทางสู่ความเป็นกลางคาร์บอน โตโยต้า นำเสนอแนวทางที่มีความเป็นไปได้ บนพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจ พลังงาน โครงสร้างพื้นฐาน และการใช้งานจริง เรามุ่งนำเสนอรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และพลังงานทางเลือกหลากหลายรูปแบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความแพร่หลายของการใช้งาน และการใช้งานในทันที
แนวทางการเสนอตัวเลือกที่หลากหลายของ Toyota
การสร้างความหลากหลาย
● ภูมิภาคเอเชียเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายอย่างยิ่ง โตโยต้า จึงให้ความสำคัญกับการสร้างทางเลือกที่มีความหลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน ให้ครอบคลุมทางเลือกในทุกระดับราคา และทุกเซกเมนท์ตั้งแต่รถยนต์ส่วนบุคคลไปจนถึงรถยนต์เพื่อการพาณิชย์
● ในทวีปเอเชีย โครงการ IMV (Innovative International Multipurpose Vehicle) โดยรถยนต์รุ่น ไฮลักซ์ และ อินโนวา สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของ โตโยต้า เพื่อเติมเต็มความหลากหลาย โดยนับตั้งแต่โครงการ IMV เปิดตัวในปี พ.ศ. 2547 สามารถตอบสนองความต้องการด้านการขับเคลื่อนให้กับผู้ใช้งานทั้งรูปแบบส่วนบุคคลและในเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมการจ้างงาน พัฒนา ห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมการส่งออก อันมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต และวัตถุประสงค์ระดับชาติ ปัจจุบัน โตโยต้า มีแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ IMV 0 ซึ่งออกแบบมาสำหรับลูกค้าที่กำลังมองหารถที่มีราคาสามารถเป็นเจ้าของได้ง่าย ตัวรถยังสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย ช่วยแก้ปัญหาด้านการเข้าถึงการขับเคลื่อนและมาตรฐานชีวิตลูกค้ากลุ่มต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
การสร้างความหลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนสำหรับทุกคน
● นอกจากนี้ โตโยต้า ยังมองหาแนวทางใหม่ๆ สำหรับการขับเคลื่อนทางเลือกอื่น เพื่อให้ทุกคน รวมถึงผู้ที่มีข้อจำกัดทางกายภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ หรือผู้มีความบกพร่องทางร่างกายสามารถเข้าถึงได้ เรามุ่งสร้างการขับเคลื่อนตามหลักการที่ว่าเราจะ ‘ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ และมอบทางเลือก ‘การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน (Mobility for All)’ ที่เหมาะสมที่สุดให้กับลูกค้า
การสร้างความหลากหลายเพื่อการขับเคลื่อนสำหรับทุกคน
การเสริมความอัจฉริยะ
● ด้วยการใช้เทคโนโลยีด้านการเชื่อมต่อ และการวิเคราะห์ข้อมูล มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมด้านการขับเคลื่อนและโครงสร้างพื้นฐาน โตโยต้า พัฒนาทางเลือกใหม่ด้านการเดินทาง และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบความสะดวกสบายให้กับลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าองค์กร เช่น การแนะนำพฤติกรรมของ ผู้ขับขี่ การติดตามการโจรกรรม หรือการหาข้อมูลเส้นทางที่ดีที่สุด ทางเลือกใหม่ๆ เหล่านี้ยังสามารถบูรณาการเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานได้ เช่น วงจรการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า หรือเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ อย่างเช่น สัญญาณไฟจราจร โตโยต้า ตระหนักดีว่าการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในส่วนของยานพาหนะเพื่อการพาณิชย์จะมีส่วนสำคัญในการช่วยลดการปล่อยคาร์บอน
การประสานความร่วมมือของการขับเคลื่อนในเอเชีย
● ในท้ายที่สุด การใช้พลังงานไฟฟ้า – การสร้างความหลากหลาย – และการเสริมความอัจฉริยะ องค์ประกอบทั้งสามส่วนนี้จะต้องทำงานร่วมกันเป็นระบบนิเวศแบบบูรณาการเพื่อตอบโจทย์ด้านความเป็นกลางของคาร์บอน และความคุ้มค่าต่อเงินที่เสียไป
● ในประเทศไทย โตโยต้า ริเริ่มโครงการนำร่องเพื่อมุ่งสู่ฝันของชาวไทย (Thai Dream trial project) ร่วมกับภาคีอื่นๆ ใน Commercial Japan Partnership Technology (CJPT) เช่น อีซูซุ และฮีโน่ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน ยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและไอทีของประเทศไทย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างพันธมิตรที่มีจุดยืนร่วมกัน อย่างบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (เอสซีจี) ภายใต้แผนที่จะแนะนำทางเลือกใหม่ในลักษณะเดียวกันที่บูรณาการการใช้พลังงานไฟฟ้า การสร้างความหลากหลาย และการเสริมความอัจฉริยะ สำหรับประเทศอื่นด้วยเช่นกัน
● มร. มาเอดะ กล่าวย้ำว่า “โตโยต้า ริเริ่มพัฒนายานยนต์พลังงานไฟฟ้ามาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเทคโนโลยีในเชิงพาณิชย์มากมาย เช่น HEV และ FCEV นอกเหนือจากนั้น เรายังได้เสนอทางเลือกใหม่ๆ ให้กับลูกค้าทุกรูปแบบ ดังจะเห็นได้จากรถยนต์ภายใต้โครงการ IMV และคอนเซปต์คาร์ IMV0 ทั้งนี้เราตระหนักว่าการพัฒนาแนวคิดหลักในการขับเคลื่อนของโตโยต้า จำเป็นต้องบูรณาการการใช้พลังงานไฟฟ้า การสร้างความหลากหลาย และเสริมสร้างความอัจฉริยะ เพื่อทำให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอนขึ้นได้จริง และมอบคุณค่าที่แท้จริงสำหรับการขับเคลื่อน โตโยต้า ตระหนักด้วยว่าเราไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้โดยลำพัง และเราต้องการให้ทุกคนร่วมเดินไปพร้อมๆ กันกับเรา”
● Japan Mobility Show 2023 จัดที่ Tokyo Big Sight (เขตโคโต กรุงโตเกียว) 25 – 26 ตุลาคม 2023 : รอบสื่อมวลชน / 26 – 27 ตุลาคม 2023 : รอบแขกพิเศษ / 28 ตุลาคม – 5 พฤศจิกายน 2023 : เปิดสำหรับบุคคลทั่วไป ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบูธภายใน JAPAN MOBILITY SHOW 2023 : global.toyota/en/newsroom/corporate/jms2023
เกี่ยวกับ Toyota Motor Asia Pacific
● Toyota Motor Asia Pacific (TMAP) จัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ เป็นสำนักงานใหญ่ระดับภูมิภาคและเป็นบริษัทในเครือของ Toyota Motor Corporation โดย TMAP เป็นผู้นำและสนับสนุนภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในด้านการขายและกิจกรรมในภาพที่ 5: การประสานความร่วมมือของการขับเคลื่อนในเอเชีย รวมถึงชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์เสริม และการบริการลูกค้า ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาของอุตสาหกรรมยานยนต์และเศรษฐกิจที่กำลังเติบโตในภูมิภาคโดยรวม
● โตโยต้ากำหนดวิสัยทัศน์สังคมแห่งการขับเคลื่อนในอนาคตเพื่อมอบเสรีภาพในการเคลื่อนที่ให้กับทุกคน ยิ่งไปกว่านั้น โตโยต้ายังมอบบริการด้านการขับเคลื่อนและการขนส่งที่หลากหลายแก่ผู้คนทั่วโลกในฐานะองค์กรแห่งการขับเคลื่อนอีกด้วย
เกี่ยวกับ Toyota Daihatsu Engineering and Manufacturing Co. Ltd
● Toyota Daihatsu Engineering and Manufacturing Co. Ltd (TDEM) ก่อตั้งขึ้น โดยเป็นศูนย์รวมฟังก์ชันของส่วนงานที่จำเป็นทั้งหมดเข้าด้วยกัน เช่น การเตรียมการผลิต การควบคุมการผลิตและโลจิสติกส์ รวมถึงบริการหลังการขาย เพื่อมุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค ตลอดจนการเสนอโซลูชั่นและเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท Asia Sales & Manufacturing Company (ASMCs) เพื่อดูแลลูกค้าในเอเชีย นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัยและพัฒนา (R&D) นอกประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมุ่งมั่นที่จะตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นผ่านการพัฒนารถยนต์ที่ดีกว่าเดิมสำหรับลูกค้าในเอเชียและทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็รักษามาตรฐานระดับสูงของ ●