Tag "Technology"

216viewsประชาสัมพันธ์ ●   มิชลิน ร่วมกับ IFPEN และ Axens ประกาศที่จะสร้างโรงงานต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตบิวทาไดอีนจากไบโอเอทานอลขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศฝรั่งเศส ●   โครงการ ไบโอบัตเตอร์ฟลาย (BioButterfly) เปิดตัวเมื่อปลายปี 2012 มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบิวทาไดอีนจากเอทานอลจากชีวมวล (พืชชนิดต่างๆ) เพื่อใช้ผลิตยางสังเคราะห์ชนิดใหม่ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ●   การสร้างโรงงานต้นแบบอุตสาหกรรมในครั้งนี้จะเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายปี 2019 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2020 โดยจะก่อสร้างขึ้นในพื้นที่โรงงานของมิชลินในเมืองบาสซ็อง (Bassens) ใกล้กับเมืองบอร์โด (Bordeaux) ซึ่งที่นั่นมิชลินมีการใช้บิวทาไดอีนจากปิโตรเลียมในการผลิตยางสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ในตลาดยุโรปอยู่ก่อนหน้าแล้ว โครงการไบโอบัตเตอร์ฟลายได้รับเงินสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 70 ล้านยูโร และจะทำให้เกิดการจ้างงานราว 20 ตำแหน่ง ณ ที่แห่งนี้ หมายเหตุ :

826viewsเรื่อง : AREA 54 ●   อีซูซูเตรียมจัดแสดงรถหัวลากคอนเซ็ปท์ (Show Model) รุ่นใหม่ Isuzu FL-IR ในงาน 2019 Tokyo Motor Show ปลายเดือนตุลาคมนี้ จุดเด่นคือการวางแนวคิดยกระดับความปลอดภัยให้กับผู้ขับในการขนส่งแบบเดินทางไกลอย่างต่อเนื่อง ด้วยชุดระบบในลักษณะการเดินทางเป็นขบวนแบบอัตโนมัติ (Platooning : แบบเดียวกับโครงการ SARTRE ของวอลโว่ ซึ่งมีแนวคิดในแบบเดียวกันมากกว่า 7 ปีแล้ว) ●   อีซูซุระบุว่า FL-IR จะใช้เทคโนโลยีคลื่นความถี่ต่ำหรืออัลตร้าโซนิค สื่อสารกันระหว่างรถกับรถในขบวน เช่นเดียวกับที่บรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเล (Marine mammals) ที่ใช้คลื่นอัลตร้าโซนิคที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการจัดรูปขบวนเพื่อเดินทางในแบบเป็นกลุ่มก้อน ส่วนงานออกแบบสัดส่วนตัวรถนั้น อีซูซุได้แรงบันดาลใจจากลักษณะทางชีวภาพของฉลาม

598viewsเรื่อง : AREA 54 ●   โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น สนับสนุนโอลิมปิกและพาราลิมปิก ที่จะจัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ปี 2020 (Olympic and Paralympic Games Tokyo 2020) โดยพัฒนายานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร หรือ APM (Accessible People Mover) ที่ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ ●   โตโยต้าออกแบบ APM ตามแนวคิดของโตโยต้าที่ต้องการสร้างสรรค์ ‘การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน’ (Mobility for All) โดยการให้บริการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารในช่วงท้ายสุดของการเดินทาง (last

266viewsประชาสัมพันธ์ ●   คอนติเนนทอล เปิดตัวระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่ (short-range radar) ที่มีการพัฒนาระบบตรวจจับสภาพแวดล้อมรอบตัวรถให้มีความแม่นยำมากขึ้น โดยเปลี่ยนจากเทคโนโลยีคลื่นความถี่วิทยุ 24 GHz มาเป็น 77 GHz เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เซ็นเซอร์เรดาร์สามารถตรวจจับสภาพแวดล้อมด้วยความละเอียดที่สูงขึ้น และเพิ่มระดับความแม่นยำมากขึ้นกว่ารุ่นก่อนหน้า ●   เทคโนโลยีล่าสุดนี้ สามารถตรวจจับผู้ใช้ถนน เช่น จักรยานยนต์, คนเดินเท้า, จักรยาน หรือผู้ที่ยืนรอรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงสิ่งกีดขวางต่างๆ บนท้องถนนได้ อีกทั้งยังสามารถตรวจจับทิศทางการเคลื่อนไหวและความเร็วของรถยนต์ได้แม่นยำและละเอียดขึ้นกว่าเทคโนโลยี 24 GHz ที่ใช้อยู่ก่อนหน้านี้ ดังนั้นชิ้นส่วนในระบบเรดาร์ระยะใกล้รุ่นใหม่อย่างเสาอากาศ (Antenna) และไมโครชิพคลื่นความถี่วิทยุ (Radio-Frequency Chip) จะใช้พื้นที่ในการติดตั้งที่น้อยลง ทำให้เซ็นเซอร์มีขนาดกะทัดรัดยิ่งขึ้น และสามารถติดตั้งสายการผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้น แม้จะมีพื้นที่ที่จำกัดก็ตาม